วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559



Recorded Diary 5


knowledge :



ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ




  • เรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
  • เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
  • ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียนรู้ เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางกาย

สาเหตุ LD
  • ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
  • กรรมพันธุ์
1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
  • อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  • อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด 
  • ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
  • อ่านช้า อ่านคำต่อคำ
  • อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  • เดาคำเวลาอ่าน
  • อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ
  • อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  • ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  • ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  • เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความไม่ได้

2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
  • เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น
  • เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  • เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
  • ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  • เรียงลำดับอักษรผิด
  • เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ , b-d, p,q , 6-9
  • เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  • เขียนพยัญชนะ หรือตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  • เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  • จับปากกาหรือดินสอเน้นมาก
  • สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  • เขียนหนังสือช้า
  • ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
  • ตัวเลขผิดลำดับ
  • ไม่เข้าใจบวกหรือลบ
  • ไม่เข้าใจหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
  • แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
  • ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข
  • นับเลขไปข้างหน้า หรือนับถอยหลังไม่ได้
  • จำสูตรคูณไม่ได้
  • เขียนตัวเลขกลับกัน
  • คำนวณเลขจากซ้ายไปขวา
  • ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
    
    อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
  • แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับเวลา
  • เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  • การประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  • การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
  • สมาธิไม่ดี (เด็กLD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  • ฟังคำสั่งสับสน
  • ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  • ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
  • ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

ออทิสติก (Autistic)



  • หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
  • เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • ไม่สามารถเข้าใจคำพูด
  • ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างหรือสังคม
  • มีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

" ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว "

  • ทักษะภาษา
  • ทักษะทางสังคม
  • ทักษะการเคลื่อนไหว
  • ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่
ลักษณะของเด็กออทิสติก
  • อยู่ในโลกของตนเอง
  • ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  • ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
  • ไม่ยอมพูด
  • เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
พฤติกรรมการทำซ้ำ
  • นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  • นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  • ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม




Application 
              เด็กพิเศษต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าเด็กปกติ ต้องรู้วิธีที่สอดคล้องและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กพิเศษแต่ละประเภท

Assessment

Place = เรียบร้อย แอร์เย็นดี

My self = แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา

Classmate = ตั้งใจเรียน

Instructor = สอนไม่เครียด มีเกมส์เล่นคั่นเวลาเพิ่มความสนุกสนานในการเรียน

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น