วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 28 เมษายน 2559



Recorded Diary 15







knowledge :




โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคล
(Individualized Education Program)


แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดแระเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • ปรับแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

กำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น

จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง     
         - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
         - น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
         - น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

  • ใคร                                            มุก
  • อะไร                                          กระโดดขาเดียวได้
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน                         กิจกรรมกลางแจ้ง
  • ดีขนาดไหน                               กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที

3. การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

กาจัดทำ IEP
  1. การรวบรวมข้อมูล
  2. การจัดทำแผน
  3. การใช้แผน
  4. การประเมิน







Assessment : 

Place = ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  อุปกรณ์สื่อการเรียนใช้ได้สะดวก


My self = มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน


Classmate = มาเรียนตรงต่อเวลาเพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี


Instructor = อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายสนุก แต่งกายสุภาพ  และพูดจาไพเราะ











วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 22 เมษายน 2559



Recorded Diary 14








knowledge :



การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
ที่มีความต้องการพิเศษ

-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-เกิดผลดีในระยะยาว
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
-โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
-การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
-การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน 
(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

-การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
-เครื่องโอภา (Communication Devices)
-โปรแกรมปราศรัย



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

2. ทักษะภาษา  
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเองเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด

-การกินอยู่ 
-การเข้าห้องน้ำ 
-การแต่งตัว 
-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียนการช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นจัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-อยากสำรวจ อยากทดลองการวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

-อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม




Assessment : 

Place = ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  อุปกรณ์สื่อการเรียนใช้ได้สะดวก


My self = มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Classmate = มาเรียนตรงต่อเวลาเพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี

Instructor = อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายสนุก แต่งกายสุภาพ  และพูดจาไพเราะ














บันทึกการเรียนประจำวันที่ 8 เมษายน 2559




Recorded Diary 13



***งดการเรียนการสอน***













บันทึกการเรียนประจำวันที่ 1 เมษายน 2559



Recorded Diary 12

**ลากิจ* คัดลอดมาจากนางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์**


knowledge :



การจัดประสบการณ์.. .การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


รูปแบบการจัดการศึกษา

- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)

-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)


การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
      *** เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา


ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ






Wilson , 2007
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

 "Inclusive Education is Education for all, 

It involves receiving people 
 
at the beginning of their education, 
 
with provision of additional services 
needed by each individual"



สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน 
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ-พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต-การนับอย่างง่ายๆ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม-กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม-การบันทึกต่อเนื่อง ให้รายละเอียดได้มาก-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง-โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกลงบัตรเล็กๆ-เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง






กิจกรรมที่ทำในห้อง 
     วาดภาพดอกบัวตามสิ่งที่เราเห็นเเละอธิบายภาพดอกบัว
ซึ่งกิจกรรมนี้เปรียบเหมือนการที่เรามองเด็กพิเศษว่าเรามองเด็กอย่างไร เห็นอะไรในตัวเด็ก








Assessment : 

Place = ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  อุปกรณ์สื่อการเรียนใช้ได้สะดวก

My self = มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Classmate = มาเรียนตรงต่อเวลาเพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี


Instructor = อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายสนุก แต่งกายสุภาพ  และพูดจาไพเราะ
















บันทึกการเรียนประจำวันที่ 25 มีนาคม 2559



Recorded Diary 11








knowledge :

                - ให้คำแนะนำในเรื่องการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอนและการไปสอบเป็นคุณครูในอนาคตข้างหน้า
                  - บอกคะแนนสอบให้ดาวนักศึกษาที่ทำคะแนนสอบได้ดีพร้อมเฉลยตรวจสอบข้อสอบ








Assessment :

Place = ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  อุปกรณ์สื่อการเรียนใช้ได้สะดวก


My self = มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน


Classmate = มาเรียนตรงต่อเวลาเพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี


Instructor = อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายสนุก แต่งกายสุภาพ  และพูดจาไพเราะ













บันทึกการเรียนประจำวันที่ 18 มีนาคม 2559



Recorded Diary 10




**สอบกลางภาค**





บันทึกการเรียนประจำวันที่ 11 มีนาคม 2559



Recorded Diary 9



knowledge :



เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์(Children with Behavioral and Emotional Disorders)




  • มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
  • แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
  • เชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
  • ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
  • ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • ความวิตกกังวล
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ปัญหาทางสุขภาพ

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
  • ทำร้ายผู้อื่น สิ่งของ ลักทรัพย์
  • ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
  • เอะอะและหยาบคาย
  • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  • ใช้สารเสพติด
  • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพส
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention Concentration)
  • จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น อาจไม่เกิน 20 วินาที
  • ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
  • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ 
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
  • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถอยู่นิ่งๆได้ หยุกหยิกไปมา
  • พูดคุยตลอดเวลา
  • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

ผล     ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
  •         ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
  •         รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
  •         มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน 
  •         มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์ 
  •         แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
  •         มีความหวาดกลัว 

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
     
  •         เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
  •         เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum) 
        

เด็กสมาธิสั้น
  (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)




ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 
3 ประการ คือ 
Inattentiveness
Hyperactivity
Impulsiveness

Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ 
- ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ 
- มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
- เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ 
- เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
- ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
- เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
- เหลียวซ้ายแลขวา 
- ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ 
- อยู่ไม่สุข ปีนป่าย 
- นั่งไม่ติดที่ 
- ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
       - ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
       - ขาดความยับยั้งชั่งใจ 
       - ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 
       - ไม่อยู่ในกติกา 
       - ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง 
      - พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง 
      - ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
        
        สาเหตุ
           
        - ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง 
เ      - ช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) 
       - ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
       - พันธุกรรม
       - สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ



 
เด็กพิการซ้อน
  (Children with Multiple Handicaps) 


        - เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
        - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
        - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
        - เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด






Application  
                 ดูแลเอาใจใส่ให้ตรงกับความต้องการและพัฒนาการของแต่ละประเภทแตกต่างกันไป

Assessment 

Place =  สะอาดเรียบร้อยดี

My self = ตั้งใจเรียน

Classmate = ให้ความร่วมมือดีมาก ตั้งใจเรียน

Instructor = สอนเข้าใจง่าย พูดจาไพเราะน่าฟัง